วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555





ความหมายของการออกแบบการเรียนการสอน
.....การออกแบบการเรียนการสอน คือ ศาสตร์ (Science) ในการกำหนดรายละเอียด รายการต่าง ๆ เพื่อพัฒนา การประเมินและการทำนุบำรุงรักษาให้คงไว้ของสภาวะต่าง ๆ เพื่อทำให้เกิดการเรียนรู้ ทั้งในเนื้อหาจำนวนมาก หรือเนื้อหาสั้น ๆ 

ความเป็นมาของการออกแบบการสอน
.....ธอร์นไดค์ ( Edward L. Thorndike,1898 )พัฒนาทฤษฎีการเรียนรู้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ โดยเริ่มทดลองกับสัตว์  “อินทรีย์สร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า (Stimulus) และการสนองตอบ (Response)”
.....แฟรงคลิน (Franklin Bobbilt,1920-30)พัฒนาการสอนรายบุคคล“เป้าหมายของโรงเรียน   ควรมาจากพื้นฐานการวิเคราะห์ทักษะที่จำเป็น สำหรับชีวิตที่ประสบความสำเร็จ”
.....ไทเลอร์ (Ralph W. Tyler,1930)ปรับปรุงกระบวนการการเขียนวัตถุประสงค์การสอน“วัตถุประสงค์การสอนเชิงพฤติกรรม (Student Behaviors)ประเมินเพื่อปรับปรุง”
.....เบนจามิน บลูม ( Benjamin Bloom,1956 ) จำแนกวัตถุประสงค์ทางการศึกษา เป็นลำดับขั้นที่ชัดเจน (Taxonomyo fEducational Objectives)“ใช้ทั่วไปในกลุ่มสาขาศึกษาศาสตร์จนถึงปัจจุบัน” 
.....บี เอฟ สกินเนอร์ (B. F. Skinner,1950-60) เสนอแนวทฤษฎีการวางเงื่อนไข  (Operant Conditioning) ซึ่งมีรากฐานมาจากแนวคิดของ ธอร์นไดค์   “เน้นการเสริมแรงในการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง”
.....“แนวคิดของ Skinner  เป็นที่มาของ วิธีระบบ (System Approach) ในการออกแบบ (Design) การพัฒนา (Development) การประเมิน (Evaluation) และการปรับปรุง (Revise)”
.....โรเบิร์ต กาเย ( Robert Gagne,1960)นำเสนอแนวคิดทางพุทธิปัญญา(Cognitive Theories) มาใช้ในการออกแบบการสอน“ศึกษาความเข้าใจ (Understand) ที่เกิดขึ้นในจิตใจ (Mind)”“ปลายปี ค.ศ. 1960 การออกแบบการสอนได้รับการยอมรับว่าเป็นสาขาวิชา” เกิดคำว่า “Instructional System”
.....ค.ศ. 1970 ทฤษฎีการเรียนรู้ การประมวลสารสนเทศ (Information Processing) มีบทบาทอย่างมาก  ปัจจุบันทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ (Constructivis   กำลังได้รับความสนใจ”







พัฒนาการออกแบบการสอน
          q     ID1 พื้นฐานมาจากกลุ่มพฤติกรรมนิยม
          q     ID2 พื้นฐานมาจากกลุ่มพุทธิปัญญานิยม
          q     พื้นฐานจาก Constructivism

การออกแบบการสอนในยุคที่ 1
.....ID1 พื้นฐานมาจากกลุ่มพฤติกรรมนิยม ตามแนวคิดนี้การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ซึ่งเป็นผลอันเนื่องมาจากประสบการณ์ที่คนเรา มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมหรือจากการฝึกหัด  การออกแบบการสอนในยุคแรก (ID1)ที่พบในปัจจุบัน ได้แก่ บทเรียนโปรแกรม   ชุดการสอน  และบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  เป็นต้น


ลักษณะสำคัญของการออกแบบการสอนในยุค ID1
          1. ระบุวัตถุประสงค์การสอนที่ชัดเจน
          2. การสอนในแต่ละขั้นตอนนำไปสู่การเรียนแบบรอบรู้ในหน่วยการสอนรวม
          3. ให้ผู้เรียนได้เรียนตามอัตราการเรียนรู้ของตนเอง
          4. ดำเนินการไปตามโปรแกรมหรือลำดับขั้นที่กำหนดไว้

การออกแบบการสอนในยุคที่ 2
.....ID2 พื้นฐานมาจากกลุ่มพุทธิปัญญานิยม  ตามแนวคิดนี้ การเปลี่ยนแปลงความรู้ของผู้เรียนเกิดจากการจัดระเบียบ ขยายความคิด และจัดหมวดหมู่ของความจำลง  สู่โครงสร้างทางปัญญา โดยให้ความสนใจเกี่ยวกับกระบวน     การคิด การให้เหตุผลของผู้เรียนซึ่งมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าภายนอกกับสิ่งเร้าภายใน คือ ส่งผ่านสื่อไปยังความรู้ความเข้าใจ กระบวนการรู้ การคิดที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้

การออกแบบการสอนในยุคที่ 3
.....พื้นฐานจาก คอนสตัคติวิสต์ ( Constructivism )ตามแนวคิดนี้เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางโดยการสร้างความรู้จะเกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนได้สร้างสิ่งที่แทนความรู้ความจำในระยะทำงานอย่างตื่นตัวพื้นฐานจาก คอนสตัคติวิสต์ ( Constructivism )ครูผู้สอนเป็นเพียงผู้ชี้แนะแนวทางหรือโมเดลในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการเรียนรู้ในยุคนี้จะเน้นการพัฒนากระบวนการคิดอย่างอิสระให้ผู้เรียน สร้างความรู้ได้   ด้วยตนเอง ตลอดจนเรียนรู้จากการปฏิบัติของตนเองโดยวิธีการเรียนรู้ที่หลากหลาย สามารถคิดแบบองค์รวมได้

หลักการและขั้นตอนการออกแบบการสอน
แนวคิดของ ADDIE



     1. ขั้นการวิเคราะห์ (Analysis)

          - กำหนดหัวเรื่องและวัตถุประสงค์ทั่วไป   
          - วิเคราะห์ผู้เรียน
          - วิเคราะห์วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
          - วิเคราะห์เนื้อหา
     2. ขั้นการออกแบบ (Design  Phase)
          - การออกแบบบทเรียน
          - การออกแบบผังงาน (Flowchart)
          - การออกแบบบทดำเนินเรื่อง (Storyboard)
          - การออกแบบหน้าจอภาพ (Screen Design)
     3. ขั้นพัฒนา  (Development)
         - การเตรียมการ
          - การสร้างบทเรียน
         - การสร้างเอกสารประกอบการเรียน
     4.ขั้นการนำไปทดลอง (Imprementation)    
          ใช้การนำบทเรียนไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง เพื่อตรวจสอบ  ความเหมาะสมของบทเรียนในขั้นต้น ปรับปรุงแก้ไขก่อนนำไปใช้  กับกลุ่มเป้าหมายจริง เพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียน  และนำไป   ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเหมาะสมและประสิทธิภาพ
     5. ขั้นการประเมินผล (Evaluation)
          การประเมินผล คือ การเปรียบเทียบกับการเรียน การสอนแบบปกติ โดยแบ่งผู้เรียนออกเป็น 2 กลุ่ม เรียนด้วยบทเรียน ที่สร้างขึ้น 1 กลุ่ม และเรียนด้วยการสอนปกติอีก 1กลุ่มหลังจากนั้น จึงให้ผู้เรียนทั้งสองกลุ่ม ทำแบบทดสอบชุดเดียวกัน และแปลผล คะแนนที่ได้ สรุปเป็นประสิทธิภาพของบทเรียน


แนวคิดของคอนสตัคติวิสต์
          1.การสร้างการเรียนรู้ (LearningConstructed) ความรู้จะถูกสร้างจากประสบการณ์การเรียนรู้เป็น  กระบวนการสร้างสิ่งแทนความรู้ในสมองที่ผู้เรียนเป็นผู้สร้างขึ้น
          2.  การแปลความหมายของแต่ละคน(Interpretationpersonal) การเรียนรู้เป็นการแปลความหมายตามสภาพจริง หรือประสบการณ์ของแต่ละคน
         3. การเรียนรู้เกิดจาการลงมือกระทำ (Learning active) การเรียนรู้เป็นการที่ผู้เรียนได้ลงมือกระทำซึ่งเป็นการสร้างความหมายโดยอาศัยพื้นฐานของประสบการณ์
          4. การเรียนรู้ที่เกิดจากการร่วมมือ (Learning Collaborative) เกิดจากแนวคิดที่หลากหลายในกลุ่ม และปรับเปลี่ยนสร้างเป็นสิ่งแทนความรู้ในสมอง ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือกับคนอื่นจากการร่วมแสดงแนวคิดที่หลากหลายที่จะทำให้เกิดปัญหาเฉพาะนำไปสู่การเลือกจุดหรือสถานการณ์ที่ทุกคนยอมรับในระหว่างกัน"
          5. การเรียนรู้ที่เหมาะสม (Learning Situated)  ควรเกิดขึ้นในสภาพชั้นเรียนจริง (Situated or anchored) " การเรียนรู้ต้องเหมาะสมกับบริบทของสภาพจริง หรือสะท้อนบริบทที่เป็นสภาพจริง"
          6.  การทดสอบเชิงการบูรณาการ (Testing Integrated) การทดสอบควรจะเป็นการบูรณาการเข้ากับภารกิจการเรียน (Task) ไม่ควรเป็นกิจกรรมที่แยกออกจากบริบท การเรียนรู้ " การวัดการเรียนรู้ เป็นวิธีการที่ผู้เรียนใช้โครงสร้างความรู้เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมให้เกิดการคิดในเนื้อหาการเรียนรู้นั้น ๆ "

แนวคิดของโรเบิร์ต กาเย่ (Robert Gange')
      1.  เร่งเร้าความสนใจ (Gain Attention)        
          2.  บอกวัตถุประสงค์ (Specify Objective)
          3.  ทบทวนความรู้เดิม(ActivatePriorKnoeledge)       
          4.  นำเสนอเนื้อหาใหม่ (Present NewInformation)
          5.  ชี้แนะแนวทางการเรียนรู้ (Guide Learning)
          6.  กระตุ้นการตอบสนองบทเรียน (Elicit Response)
          7. ให้ข้อมูลย้อนกลับ (Provide Feedback)                                
          8. ทดสอบความรู้ใหม่ (Assess Performance)
          9. สรุปและนำไปใช้ (Review and Transfer)

เร่งเร้าความสนใจ (Gain Attention)
.....กระตุ้นหรือเร้าให้ผู้เรียนเกิดความสนใจกับบทเรียนและเนื้อหาที่จะเรียน การเร้าความสนใจผู้เรียนนี้อาจทำได้โดย การจัดสภาพแวดล้อมให้ดึงดูดความสนใจ เช่นการใช้ภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว และการใช้เสียงประกอบบทเรียน
บอกวัตถุประสงค์ (Specify Objective)
.....การบอกให้ผู้เรียนทราบถึงจุดประสงค์ของบทเรียนนี้มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งผู้เรียนสามารถควบคุมการเรียนของตนเองได้โดยการเลือกศึกษาเนื้อหาที่ต้องการศึกษาได้เอง ดังนั้นการที่ผู้เรียนได้ทราบถึงจุดประสงค์ของบทเรียนล่วงหน้าทำให้ผู้เรียนสามารถมุ่งความสนใจไปที่เนื้อหาบทเรียนที่เกี่ยวข้อง
ทบทวนความรู้เดิม (Activate Prior Knoeledge)
.....การทบทวนความรู้เดิมช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้เนื้อหาใหม่ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น รูปแบบการทบทวนความรู้เดิมในบทเรียนบนเว็บทำได้หลายวิธีเช่น กิจกรรมการถาม-ตอบคำถาม หรือการแบ่งกลุ่มให้ผู้เรียนอภิปรายหรือสรุปเนื้อหาที่ได้เคยเรียนมาแล้ว เป็นต้น

นำเสนอเนื้อหาใหม่ (Present New Information)
.....การนำเสนอบทเรียนสามารถทำได้หลายรูปแบบด้วยกันคือ การนำเสนอด้วยข้อความ รูปภาพ เสียง หรือแม้กระทั่งวีดิทัศน์ อย่างไรก็ตามสิ่งสำคัญที่ผู้สอนควรให้ความสำคัญก็คือผู้เรียน ผู้สอนควรพิจารณาลักษณะของผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อให้การนำเสนอบทเรียนเหมาะสมกับผู้เรียนมากที่สุด

ชี้แนะแนวทางการเรียนรู้ (Guide Learning)
.....การชี้แนวทางการเรียนรู้หมายถึงการชี้แนะให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้เรียนใหม่ผสมผสานกับความรู้เก่าที่เคยได้เรียนไปแล้ว เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่รวดเร็วและมีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น

กระตุ้นการตอบสนองบทเรียน (Elicit Response)
.....ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียน นักการศึกษาต่างทราบดีว่าการเรียนรู้เกิดขึ้นจากการที่ผู้เรียนได้มีโอกาสมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนการสอนโดยตรง ดังนั้น ในการจัดการเรียนการสอน จึงควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียน

ให้ข้อมูลย้อนกลับ (Provide Feedback)
.....การที่ผู้สอนสามารถติดต่อสื่อสารกับผู้เรียนได้โดยตรงอย่างใกล้ชิด เนื่องจากบทบาทของผู้สอนนั้น เปลี่ยนจากการเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้แต่เพียงผู้เดียว มาเป็นผู้ให้คำแนะนำและช่วยกำกับการเรียนของผู้เรียนรายบุคคล ทำให้ผู้สอนสามารถติดตามก้าวหน้าและสามารถให้ผลย้อนกลับแก่ผู้เรียนแต่ละคนได้ด้วยความสะดวก

ทดสอบความรู้ใหม่ (Assess Performance)
.....การทดสอบความรู้ใหม่หลังจากศึกษาบทเรียน เรียกว่า การทดสอบหลังบทเรียน เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทดสอบความรู้ของตนเอง นอกจากนี้จะยังเป็นการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนว่าผ่านเกณฑ์ที่กำหนดหรือไม่ เพื่อที่จะไปศึกษาในบทเรียนต่อไปหรือต้องกลับไปศึกษาเนื้อหาใหม่

สรุปและนำไปใช้ (Review and Transfer)
.....การสรุปและนำไปใช้ จัดว่าเป็นส่วนสำคัญในขั้นตอนสุดท้ายที่บทเรียนจะต้องสรุปมโนคติของเนื้อหาเฉพาะประเด็นสำคัญๆ รวมทั้งข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีโอกาสทบทวนความรู้ของตนเองหลังจากศึกษาเนื้อหาผ่านมาแล้ว ในขณะเดียวกัน บทเรียนต้องชี้แนะเนื้อหาที่เกี่ยวข้องหรือให้ข้อมูลอ้างอิงเพิ่มเติม เพื่อแนะแนวทางให้ผู้เรียนได้ศึกษาต่อในบทเรียนถัดไป หรือนำไปประยุกต์ใช้กับงานอื่นต่อไป

ปัญหาหลักของการออกแบบการสอน

1. ปัญหาด้านทิศทาง  (Direction)
          -  ผู้เรียนไม่ทราบว่าจะเรียนไปเพื่ออะไร
          -  ไม่รู้ว่าจะต้องเรียนอะไร
          -  ต้องสนใจจุดไหน 
2. เกิดขึ้นกับทั้งผู้สอนและผู้เรียน 
          ผู้สอนจะมีปัญหา เช่น จะรู้ได้อย่างไรว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้หรือไม่ วิธีที่ใช้อยู่ใช้ได้ผลดีไหม ถ้าจะปรับปรุงเนื้อหาจะปรับปรุงตรงไหน จะให้คะแนนอย่างยุติธรรมได้อย่างไร ผู้เรียนจะมีปัญหา เช่น ฉันเรียนรู้อะไรบ้างจากสิ่งนี้  ข้อสอบยากเกินไป  ข้อสอบกำกวม
3. ปัญหาด้านเนื้อหาและการลำดับเนื้อหา (Content  and  Sequence)
          ครูอาจสอนเนื้อหาที่ไม่ต่อเนื่องกัน เนื้อหายากเกินไป เนื้อหาไม่ตรงกับจุดมุ่งหมาย  เนื้อหาไม่สัมพันธ์กัน ส่งผลให้ผู้เรียนเกิดความไม่เข้าใจ และสับสนในเนื้อหาที่เรียน ฯลฯ
4.ปัญหาด้านวิธีการ  (Method)
          การสอนหรือวิธีสอนของครูอาจทำให้ผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่าย  ไม่อยากเข้าห้องเรียน มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการเรียน หรือปัญหาการสอนที่ไม่สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายที่ตั้งเอาไว้ 
5.  ปัญหาข้อจำกัดต่าง ๆ  (Constraint)
          การสอนหรือการฝึกอบรมนั้นต้องใช้แหล่งทรัพยากร 3 ลักษณะ คือ
               3.1 บุคลากร ครูผู้สอน และสถาบันต่าง ๆ
               3.2 บุคลาการที่ว่านี้อาจจะเป็นวิทยากร  ผู้ช่วยเหลือต่าง ๆ เช่นพนักงานพิมพ์  ผู้ควบคุมเครื่องไม้เครื่องมือ  หรืออื่น ๆ
              3.3 สถาบันต่าง ๆ หมายถึง  แหล่งที่เป็นความรู้  แหล่งที่จะให้ความร่วมมือสนับสนุนต่าง ๆอาจเป็นห้องสมุด  หน่วยงานต่าง ๆ เป็นต้น

ประโยชน์ของการออกแบบการสอน
          1. ช่วยให้จัดทำหลักสูตรวิชาชีพทุกสาขาวิชาง่ายขึ้น
          2. ช่วยให้ครูและนักเรียนมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
          3. ช่วยให้นักเรียนมีความตั้งใจ สนุกกับเนื้อหา เกิดประสบการณ์การเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น
          4. ช่วยให้จัดทำสื่อการเรียนการสอนได้ถูกต้องเหมาะสมตาม  ความต้องการของผู้เรียน และนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
          5. ช่วยให้ผู้ที่สนใจเกิดแรงกระตุ้นที่จะพัฒนาและออกแบบการ เรียนการสอนให้เหมาะสมกับเนื้อวิชาและผู้เรียน



องค์ประกอบของการออกแบบการเรียนการสอน
.....การออกแบบการเรียนการสอนให้หลักการแนวทางของระบบ ดังนั้นในการออกแบบการเรียนการสอนจึงประกอบด้วยองค์ประกอบต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ได้ และในกระบวนการออกแบบการเรียนการสอนก็จะมีกลไกในการปรับปรุงแก้ไขตัวเอง อันได้แก่ กระบวนการใช้ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) จากการประเมินผลที่เรียกว่า การประเมินผลเพื่อการปรับปรุง (formative evaluation)เนื่องจากมีรูปแบบ (Model) สำหรับนำไปใช้ในการออกแบบการเรียนการสอนอยู่มากมายจึงมีความหลากหลายในองค์ประกอบในรูปแบบนั้น ๆ แต่อย่างไรก็ตาม รูปแบบการเรียนการสอนใด ๆ ก็จะยึดแนวทางของรูปแบบดั้งเดิม (generic model)

เป้าหมายหลักของการจัดระบบการเรียนการสอนมี 2 ประการคือ
          1. เพื่อจัดกระบวนการเรียนการสอนให้ผู้สอนและผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กัน โดยใช้วิธีการต่างๆ ในการเอื้ออำนวยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุด
          2. เพื่อออกแบบระบบการเรียนการสอน โดยใช้วิธีการที่เป็นระบบในการออกแบบ การวางแผน การนำไปใช้ และการประเมินกระบวนการทั้งหมดของระบบการสอนนั้น

.....ระบบการเรียนการสอนต้องอาศัยองค์ประกอบหลายส่วนมาร่วมกันทำงานให้เกิดผลลัพธ์ที่ต้องการการออกแบบการสอนเป็นวิธีการระบบ   เพื่อการวิเคราะห์, การออกแบบ, การพัฒนา, การดำเนินการให้เป็นผล และการประเมินผลของสารปัจจัย และกิจกรรมการเรียน
.....การออกแบบการสอนมุ่งหมายเพื่อวิธีการสอนที่ยึดถือผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง มากกว่าวิธีการที่ยึดถือผู้สอนเป็นศูนย์กลาง  จนกระทั่งการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิผลเกิดขึ้นได้นี่หมายความว่าจะต้องควบคุมกำกับการองค์ประกอบการสอนทุกชนิดด้วยผลลัพธ์ทางการเรียนซึ่งได้รับการวินิจฉัยภายหลังการวิเคราะห์ความต้องการ(ความจำเป็น)ของผู้เรียน อย่างต่อเนื่องสมบูรณ์
.....ขั้นตอนเหล่านี้บางครั้งก็เหลื่อมซ้อนกันและสามารถทำให้มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันได้จะให้แนวทางอย่างเป็นพลวัตและมีความยืดหยุ่นสำหรับการสอนที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล